สาเหตุของสงครามครูเสด

ชาวยุโรปยกทัพไปทำสงครามครูเสดรวม 6 ครั้ง เหตุผลโดยรวมของการทำสงครามคือปลดปล่อยนครเยรูซาเลมอันศักดิ์สิทธิ์จากการควบคุมของพวกมุสลิม แต่เมื่อวิเคราะห์จากเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว พบว่าการสนับสนุนสงครามครูเสดของชาวยุโรปเกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ เหตุผลทางการเมือง และการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์

เป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ชาวยุโรปเดินทางไปทำสงครามครูเสด เนื่องจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์จากยุโรปที่เดินทางไปแสวงบุญยังนครเยรูซาเลมถูกพวกเติร์กที่ยึดครองปาเลสไตน์อยู่ขัดขวางและบางคนถูกสังหาร สำนักวาติกันซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของศาสนาคริสต์ได้เรียกร้องให้พวกคริสเตียนไปร่วมรบเพื่อชิงนครเยรูซาเลมจากพวกมุสลิม นักรบที่ร่วมในสงครามจะเย็บเครื่องหมายกางเขนที่ทำด้วยผ้าติดไว้บนเสื้อผ้าของตน จึงถูกเรียกว่า “crusader” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ที่ติดเครื่องหมายกางเขน” และเป็นที่มาของชื่อสงครามครูเสด

vb

Crusader นักรบผู้ติดเครื่องหมายกางเขน

ใน ค.ศ. 1095 สันตะปาปาเออร์แบบที่ 2 (Urban II) เรียกประชุมผู้นำทางศาสนาและขุนนางที่มีอำนาจในเขตต่างๆ ของฝรั่งเศสเพื่อให้ยุติการสู้รบแย่งชิงอำนาจกัน และช่วยกันปกป้องศาสนาคริสต์ ในปีถัดมาสันตะปาปาทรงนำทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมสงครามซึ่งมีจำนวนมากมาจากดินแดนต่างๆ ทั่วยุโรป เพราะเชื่อว่าการไปรบเพื่อศาสนาจะเป็นการไถ่บาปที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่เสียชีวิตในสงครามครูเสดจะได้ขึ้นสวรรค์ สันตะปาปาทรงให้สัญญาว่าทรัพย์สินและครอบครัวของนักรบครูเสดจะได้รับความคุ้มครองจากศาสนจักร นักรบที่มีหนี้สินจะได้รับการยกเว้นหนี้และนักโทษคดีอาญาที่ไปร่วมรบก็จะได้รับอภัยโทษด้วย นักรบครูเสดได้รับชัยชนะในสงครมครูเสดครั้งที่ 1 และสามารถยึดนครเยรูซาเลม จากนั้นก็สร้างเขตปกครองของพวกคริสเตียนในปาเลสไตน์ขึ้นหลายแห่ง อย่างไรก็ตามหลังจากนักรบครูเสดเลิกทัพกลับยุโรปแล้ว พวกมุสลิมก็กลับมารุกรานนครเยรูซาเลมอีกและยึดเมืองของพวกคริสเตียนในปาเลสไตน์บางเมือง ทำให้สงครามครูเสดยืดเยื้อต่อไป

883

จิตรกรรมสันตะปาปาเออร์แบนที่ 2 เรียกประชุมผู้นำทางศาสนาและขุนนางร่วมรบ

เพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์

สำนักวาติกันได้ขอร้องให้กษัตริย์และผู้ครองนครรัฐในยุโรปยกทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1147 – 1149) และครั้งที่ 3 (ค.ศ.1189 – 1192) แต่นักรบครูเสดก็ไม่สามารถปราบปรามพวกมุสลิมได้ ดังนั้นสันตะปาปาอินโนเชนต์ที่ 3 (Innocent III) จึงชักชวนพวกอัศวินและขุนนางในฝรั่งเศสไปรบในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) แต่นักรบครูเสดกลับไปยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล หลังจากนั้นสำนักวาติกันก็ยัคงสนับสนุนให้นักรบครูเสดไปรบกับพวกมุสลิมอีกแต่ในที่สุดเมือเอเคอร์ (Acre) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพวกคริสเตียนในปาเลสไตน์แห่งสุดท้ายถูกพวกมุสลิมยึดครองใน ค.ศ. 1291 ทำให้สงครมครูเสดยุติลง

เหตุผลทางการเมือง

ในสมัยกลาง สถาบันศาสนามีอิทธิพลทางการเมืองเหนือกษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ จะเห็นได้ว่าสันตะปาปาเป็นผู้ประกอบพิธีถวายมงกุฎแก่กษัตริย์และจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อแสดงถึงการมอบอำนาจทางโลกให้แก่กษัตริย์หรือจักรพรรดิในนามของพระเจ้า การชักนำให้กษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ ส่งกองทัพไปรบกับพวกมุสลิมในสงครามครูเสดทั้งหลาย แสดงถึงอิทธิพลทางการเมืองของสันตะปาปาที่มีเหนือกษัตริย์และประมุขของดินแดนต่างๆ ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าการที่กษัตริย์และประมุขเหล่านั้นไปร่วมรบในสงครามครูเสดก็มิได้เกิดจากศรัทธาต่อศาสนาคริสต์เพียงประการเดียว แต่ยังเป็นการตอบสนองนโยบายของสันตะปาปาเพื่อความมั่นคงทางการเมืองของตนด้วย

charlem-crowned

พิธีถวายมงกุฎแก่กษัตริย์

การแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

สงครามครูเสดได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพ่อค้าในแหลมอิตาลีซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการขนส่งทหารและเสบียงอาหารให้กับกองทัพครูเสดไปยังปาเลสไตน์ ขณะเดียวกันพ่อค้าเหล่านั้นก็แสวงหาประโยชน์อื่นจากนักรบครูเสดด้วย ดังกรณีที่พ่อค้าเมืองเวนิส (Venice) เสนอจะลดค่าขนส่งที่มีมูลค่าสูงให้กับกองทัพครูเสดหากยินดียกทัพไปตีเมืองซารา (Zare) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic Sea) และเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของเวนิส

crusaders

 การขนส่งทหาร

 

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุของเหตุการณ์ที่สำคัญ และสงครามครูเสดยังมีเบื้องหลังอีกหลายประการ เช่น

1.การขยายตัวของจักรพรรดิอิสลาม

2.จักรพรรดิแห่งโรมันตะวันออก

3.สันตะปาปา

ที่มา http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/13/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%94-the-crusades-%E0%B8%84-%E0%B8%A8-1096-1291/

ใส่ความเห็น