บทสรุปของสงครามครูเสด

 

X12754914-0

สงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน 10 ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200 ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000 คน และสุดท้ายดินแดนศักดิ์สิทธิตกเป็นของมุสลิม บทสรุปการทำสงครามแต่ละครั้งมีดังนี้

สงครามครูเสดครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปีคศ. 1095 – 1101 พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเตอร์กเปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวกปฏิบัติการสงครามครั้งแรกยังไม่ได้รับความสนับสนุนจากอาณาจักรโรมันตะวันออกที่มีนครคอนแตนติโนเปิ้ลเป็นราชธานี จึงไม่ประสบผลสำเร็จ

สงครามครูเสดครั้งที่ 2  ลัทธิเจ้าครองนคร (Feudalism) ฟิวดัลลิสม์ ที่พวกครูเสดนำมาใช้ในเอเชีย
น้อย (Asia minor) ได้เผยแพร่เข้าไปสู่พวกสัลยูกเช่นกัน พวกนี่ต่างแก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนแตกออกเป็นหลายนครพวกที่ลี้ภัยสงครามครูเสดได้หนีไปกรุงแบกแดดเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นเป็นเดือนเรามะฎอน เคาะลีฟะฮของแบกแดด ซื่อ มุสตะซิร บิลลาฮ ( ปกครองตั้งแต่ ปี ค.ศ.1094 ถึง ปี ค.ศ.1118)
ส่งผู้แทนไปยังสุลฎอน เพื่อขอความช่วยเหลือจาก บัรกี ยารูก (คือพวกสัลยูก เป็นบุตรคนที่ 2 ของมาลิกชาฮ ซึ่งเป็นคนขี้เมานำความเสื่อมมาสู่วงศ์สัลยูก ปกครองปี ค.ศ.1094 ถึง ปี ค.ศ.1140 ) เพื่อยกทัพไปปราบครูเสด แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ

สงครามครูเสดครั้งที่ 3  ตั้งแต่คศ.1188-คศ.1192 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 1 (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้พากันแพ้กลับมาและพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตายนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1095 ที่สงครามครูเสดเริ่มขึ้น ดินแดนในเอเชียน้อยไม่เคยสงบสุขเลย พวกครูเสดจะยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนแออยู่ตลอดเวลา ซ้ำในบางครั้งมุสลิมด้วยกันก็เป็นศัตรูกันเอง
จึงต้องทำสงครามกันตลอด

สงครามครูเสดครั้งที่ 4  เมื่อเศาะลาหุดดีนเสียชีวิตแล้ว ได้เกิดปัญหาความวุ่นวายต่างๆ จากลูกๆ ของเขา เศาะลาหุดดีนมีลูกชาย 3 คนคือ อะลีย อุษมาน และฆอซี ต่างก็ได้รับสิทธิปกครองเขตแดนต่างกันไป รวมทั้งน้องชายของเศาะลาหุดดีนชื่อสัยฟุดดีน เมื่อลูกๆ ของเศาะลาหุดดีนทะเลาะกัน สัยฟุดดีน จึงได้รวบอำนาจไว้ เมื่อพวกครูเสดยกทัพมาทางทะเลยึดเมืองบัยรุตได้ เป็นการทำลายสัญญาที่ ทำไว้ในสมัยของเศาะลาหุดดีน สัยฟุดดีนจึงได้ยกกองทัพไปปราบพวกครูเสด และทำสัญญาสงบศึกอีก 3 ปี แล้วจึงยกกองทัพกลับ ในตอนต้นๆ โป็ปเซเลสตีน เป็นผู้ที่ยุให้เกิดสงครามครูเสด

สงครามที่ครั้งที่ 5 หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา โป๊ปอินโนเซ็นท์ที่ 3 ได้ทำการประกาศสงครามอีก โป๊บได้ปลุกระดมให้กษัตริย์ในทวีปยุโรปยกทัพมาร่วมรบเพื่อตีเมืองเยรูซาเล็ม แต่ครั้งนี้พระเจ้าริชาร์ด
ใจสิงห์แห่งอังกฤษไม่ทรงเห็นด้วย โป๊ปรวบรวมผู้คนได้เป็นกองทัพขนาดใหญ่ ในคราวนี้เป็น
โชคดีของมุสลิม เพราะพวกนี้ได้ยกทัพมุ่งไปเมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล แทนที่จะไปเอเชียน้อย
เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล เป็นที่ตั้งของพวกคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล
จึงถูกพวกครูเสดยึดได้ง่าย เมืองถูกเผาทำลาย นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ไฟลุกโชติช่วง
สูงเกิน 1 ลีก ( ประมาณ 3 ไมล์) เป็นเวลา 8 วัน 8 คืน แม้โป๊ปจะรู้สึกสลดใจต่อการกระทำของพวกครูเสด แต่ก็ไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ทั้งผู้หญิงและเด็กถูกฉุดฆ่าและสับเป็นท่อนๆ โดยพวกคริสเตียนเหล่านี้พวกครูเสดโรมันได้ครองเมืองอยู่ถึง 40 ปีเศษ ในที่สุดพวกกรีกสามารถกอบกู้เมืองคืนมาได้ และปกครองอยู่อีกราว 200 ปี จึงได้เสียเมืองให้พวกตุรกีอุษมานิยะฮ ( ที่ฝรั่งเรียกว่า อาณาจักรออตโตมัน แห่งตุรกี)

สงครามครูเสดครั้งที่ 6  นับเป็นสงครามครั้งที่รุนแรงและโหดร้ายที่สุด เพราะมีการปลุกระดมปลูกฝัง
แนวความคิดให้พวกเด็กๆ และผู้หญิงเข้าไปร่วมรบในปาเลสไตน์ด้วย โดยเด็กฝรั่งเศสชื่อ สตีเฟน อายุ 12 ปี บอกว่าพระเยซูมีบัญชาให้ตนเองยกกองทัพครูเสดของพวกเด็ก ๆ ไปช่วยกันเผาสุสานบริสุทธิ์ของพระองค์ เด็ก ๆ เกิดความตื่นเต้นกับคำพูดอวดอ้างของสตีเฟน ต่างพากันไปชุมนุมเพื่อนสนับสนุนพวกคลั่งศาสนา ประกอบกับได้มีการอ้างถึงคัมภีร์ไบเบิ้ลใหม่ เช่น มัดธาย 21 : 17 ความว่า “เสียงที่ออกจากปากเด็กอ่อนและทารกนั้นเป็นคำสรรเสริญอันแท้จริง” พวกเด็ก ๆ ในเยอรมันจึงรวมตัวกันเกือบ 40000 คน เดินทางข้ามภูเขาแอลป์มุ่งหน้าที่จะไปยังประเทศอิตาลี โดยหวังว่าจะเห็นปาฏิหาริย์ทะเลแยกออกให้พวกเขาเดินผ่านไปยังปาเลสไตน์ได้ แต่การเดินทางที่ยาวไกล ต้องพบกับ
ความยากลำบากและความหนาวเหน็บ ทำให้เด็กๆ ต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก

สงครามครูเสดครั้งที่ 7  ในระหว่าง ค.ศ 1216-1217 โป๊บอินโนเซนต์ที่ 7 ได้ประกาศสงครามครูเสดอีก คราวนี้เจ้าเมือง ฮังการีหมดยุคแห่งออสเตรียและบาวาเรียและพวกเจ้านครต่างๆได้รวมกำลังกันประมาณ 250,000 คน เพื่อไปตีพวกมุสลิมมีน!พวกนี้มาทางซีเรีย แล้วมุ่งไปทางอียิปต์เพื่อตีเมืองดิมยาตสัยฟุดดีนได้ยกทัพจากทางเหนือมาช่วย แต่ตายเสียกลางทางมุสลิมมีนได้สูญเสียแม่ทัพสำคัญอีกคนหนึ่งรองจากเศาะลาหุดดีนหลังจากล้อมเมืองอยู่ 18 เดือน พวกครูเสดจึงเข้ายึดเมืองดิมยาดได้และได้ประกอบอาณารยธรรมต่างๆ อย่างๆที่พวกเขาได้เคยกระทำมาแล้ว พวกนี้จึงยกทัพไปไคโร เวลานั้นลูกชายของสัยฟุดดีน ชื่อ นะศีรุดดีน มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัลกามิล ปกครองอยู่ ได้ขอร้องทำสัญญาสงบศึกโดยจะคืนเมืองต่างๆที่เศาะลาหุดดีนตีได้แก่พวกครูเสด แต่พวกนี้ไม่ยอม เวลานั้นแม่น้ำไนลืกำลังขึ้น พวกครูเสดอยู่ทางลุ่ม พวกมุสลิมมีนจึงได้พังเขื่อนกั้นน้ำทำให้น้ำท่วมพวกนี้เสียหายเป็นจำนวนมากขาดการติดต่อจากเมืองอื่น และคนตายลอยเป็นแพ พวกครูเสดจึงทำสัญญาสงบศึกโดยยอมคืนเมืองดิมยาตคืนให้แก่มุสลิมมีนแล้วยกทัพกลับ ยังไม่ทันที่ไอสงครามจะจางหาย พวกพี่น้องเหล่านี้ซึ่งเป็นลูกของสัยฟุดดีนเกิดทะเลาะกันอีก คนหนึ่งไปทำสัญญาลับๆ กับพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 2 แห่งเยอรมันนี ทำให้เกิดสงครามครูเสดครั้งต่อไป

สงครามครูเสดครั้งที่ 8  ใน ค.ศ 1229 เฟรดเดอริกที่ 2 ยกทัพมาถึงซีเรีย เฟรดเดอริกได้เจรจากับกามิล ตกลงทำสัญญาซึ่งในสัญญานั้นมีอายุ เป็นเวลา 10 ปี 6 เดือน 10 วัน ความว่า ให้เฟรเดอริกเข้าครอง
เมืองเยรูซาเล็ม เมืองบัยตุลละหัม (เมือง เบธเลเฮม) เมืองนาซาเรส และเมืองอื่น ๆ ระหว่างยัฟฟะ
ถึงอักกะได้ และยอมให้มุสลิมมีสิทธิประกอบศาสนกิจในเมืองเหล่านี้ได้อย่างเสรี แต่ทั้งมุสลิม
และคริสต์เตียนไม่เห็นด้วยกับสัญญาฉบับนี้ ทางฝ่ายมุสลิมเกิดความแค้นเคืองที่กามิลยกเมืองที่
เศาะลาหุดดีนตีมาได้ให้แก่พวกครูเสด ส่วนพวกครูเสดก็ไม่ยอมรับพวกมุสลิม เพราะถือเป็นพวก
นอกศาสนา ไม่ยอมให้ประกอบศาสนกิจได้ โป๊ปเองก็ไม่พอใจเฟรดเดอริกที่ยกทัพไปตามลำพัง
จึงประกาศให้เป็นพวกนอกศาสนา เมื่อทำสัญญาเสร็จ เฟรดเดอริกจึงได้ยกทัพกลับ กามิลเสียชีวิตลง ในวันที่ 8 มีนาคม 1238 มีลูกชายคนหนึ่งชื่อ อบูบักร ครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องด้วยความเป็นเด็กที่ไม่รู้จักโต ทำให้ลูกผู้พี่คือ ดาวูด ได้ยึดเมืองคืนและกอบกู้เมืองเยรูซาเล็มให้กลับมาเป็นของมุสลิมอีกครั้ง

สงครามครูเสดครั้งที่ 9  กษัตริย์ของฝรั่งเศส หลุยส์ที่ 9 ได้ยกกองทัพมาทางทะเลขึ้นบกที่ดิมยาตและเข้ามายึดเมืองได้ ซึ่งในขณะนั้น อัล-มาลิก อัศ-ศอลิห นัจญ์มุดดีน อัยยุบ ได้เสียชีวิตลง เมื่อลูกชายของศอลิห ชื่อ ตุรอนซาฮ เดินทางกลับมาจากเมโสโปเตเมีย ได้ทราบข่าว แต่เนื่องจากไม่ถูกกับพวกบ่าวของพ่อ คือพวกมัมลูก จึงได้ถูกแม่เลี้ยงชื่อนางชะญัรสั่งให้คนลอบฆ่า แล้วนางก็สถาปนาตนขึ้นเป็นราชินีมุสลิม แต่ผู้อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงคือ มัมลูก (ชื่อมุอีซุดดีน อัยบาก) นั่นเอง ซึ่งต่อมานั้นเป็นต้นราชวงศ์มัมลูกกิยะฮ วงศ์นี้ปกครองตั้งแต่ ค.ศ.1250 ถึง 1390 เป็นเวลาถึง 140 ปี ต่อมาอัยบาย เกิดความขัดแย้งกับพวกหลานของเศาะลาหุดดีน ซึ่งเป็นที่สุดของราชวงศ์อัยยูบิยะฮ ก่อให้เกิดการล่มสลายของราชวงศ์ลง และวงศ์มัมลูกกิยะฮ ก็ได้ขึ้นมาแทนในช่วงเวลานี้ ทางตะวันออกก็เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น คือ พวกมองโกเลียโดยการนำของเจงกิสข่าน ได้เดินทางมาทางยุโรป และบรรดาลูกหลานของเจงกิสข่านได้ยึดเมือง แบกแดด ซึ่งมีชาวเมืองประมาณ 2 ล้านคน และเผาทำลายบ้านเมืองลงหมด ทำให้วงศ์อับบาสิยะฮสิ้นสุดลง โดยมีเคาะลีฟะฮ องค์สุดท้าย คือองค์ที่ 37 ชื่อ อัลมุสตะอศิมบิลลาฮ เป็นผู้ปกครอง เมื่อ ฮ.ศ. 640 พวกมัมลูกสามารถต้านกองทัพของพวกมองโกเลียไว้ได้ และเป็นการกันไม่ให้รุกรานไปจนถึงซีเรีย และอียิปต์

สงครามครูเสดครั้งที่ 10  พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เดินทางกลับทวีปยุโรป และขอให้โป๊ปอภัยโทษให้พระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 2 ของเยอรมัน ใน ปี ค.ศ. 1270 พระองค์ได้ทรงชักชวนให้ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ของอังกฤษมาร่วมทำสงครามครูเสดอีก แต่พระเจ้าหลุยส์ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยโรคระบาดที่เมืองคาร์เธจเสียก่อน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้เสด็จกลับจากปาเลสไตน์เมื่อ ปี ค.ศ. 1271 ถึงอังกฤษ ปี ค.ศ. 1274ครั้งสุดท้ายมีการเคลื่อนไหวที่จะทำให้เกิดสงครามครูเสดขึ้นมาอีกโดย ปิอุสที่ 2 ในช่วงปี ค.ศ. 1460 แต่เมื่อโป๊ปเสียชีวิตลง ในปี ค.ศ. 1464 เรื่องสงครามครูเสดก็ได้ยุติลง

 

 

ที่มา   http://www.baanjomyut.com/library/war_of_religions/01.html

file:///C:/Users/Administrator/Documents/e0b8aae0b887e0b884e0b8a3e0b8b2e0b8a1e0b884e0b8a3e0b8b9e0b980e0b8aae0b894.pdf

ใส่ความเห็น