ประเพณีแข่งเรือ

uilglig

      การแข่งขันเรือยาวเป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาติมาหลายยุคหลายสมัย สำหรับ
การแข่งขันเรือยาวประเพณีของวัดท่าหลวง เริ่มตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระธรรมทัส สีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ประมาณ พ.ศ. 2450 แข่งขันติดต่อกันมาจนกระทั่งถึงสมัยของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์(ไป๋ นาควิจิตร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ในสมัย
ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์ เป็นเจ้าอาวาส การกำหนดงานจัดงาน
แข่งขันเรือกำหนดตามวันทางจันทรคติคือวันขึ้น 6 คำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำ
น่านลดลงไวเกินไปไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็ นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และจัด
แข่งขันเพียงวันเดียว

          การแข่งขันเรือยาวของวัดท่าหลวง ประชาชนให้ความสนใจมาชมงานอย่างคับคั่งล้นหลามตลอดมา เพราะวัดท่าหลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตรเพียงวัดเดียวเท่านั้น เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรเป็นผู้จัดสนับสนุน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร (สมัยก่อนเรียกผู้ว่าราชการ ว่า ข้าหลวง หรือ พ่อเมือง) สิ่งที่จูงใจอีกอย่างหนึ่ง คือ ภายในวัดท่าหลวงมีพระพูทธรูปทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง คือ หลวงพ่อเพชร สมยัเชียงแสนสิงห์1 รุ่นแรก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 6 นิ้ว เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประชาชนมาชมการแข่งขันเรือยาวแล้วได้มีโอกาสนมัสการ และปิดทององค์หลวงพ่อเพชรด้วยมือของตนเองด้วย(เมื่อหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังเก่าที่หลวงพ่อเอี่ยมสร้างด้วยไม้สักเกือบทั้งหลัง ) ได้อนุญาตให้ปิดทองที่องค์จริงได้ ต่อมา พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์ ( ไป๋ นาควิจิตร )เมื่อ พ.ศ. 2492 ได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรไปประดิษฐานเหนือพระแท่นฐานชุกชี แล้วลงลักปิดทองเรียบร้อยทั้งองค์ แล้วห้ามประชาชนปิดทององค์จริง เพราะว่าจะทำให้เสียความงามพระพุทธลักษณะ ปัจจุบันประชาชนให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อเพชรทั่วประเทศไทยแล้ว แม้วันปกติพระอุโบสถที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อเพชรก็ไม่ว่างจากสาธุชนที่มานมัสการ ผู้ที่มาเที่ยวเมืองพิจิตร หรือมาชมงานแข่งขันเรือยาวประเพณี หากยังไม่ได้ไปนมัสการองค์หลวงพ่อเพชร ผู้นั้นชื่อว่ายังมาไม่ถึงเมืองพิจิตร และวัดท่าหลวง เพราะว่าหลวงพ่อเพชรเป็นจุดรวมจิตใจของประชาชนชาวจังหวัดพิจิตร

         ในการจัดรางวัลการแข่งขันเรือยาวประเพณีนั้น ในสมัยหลวงพ่อเอี่ยมและต้นสมัยหลวงพ่อไป๋นั้น จัดผ้าห่มหลวงพ่อเพชรพับใส่พานให้เป็นรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศแก่เรือยาวเมื่อเรือยาวลำใดได้ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรไปแล้ว จะพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง จะนำผ้ารางวัลนั้นพันไว้ที่โขนเรือ โดยถือว่าเป็ นสิริมงคลแก่เทือกเรือ(ฝี พาย) ของตน ภายหลังคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าผ้าห่มหลวงพ่อเพชรเป็ นของสูง การนำผ้าห่มของหลวงพ่อเพชรไปพันที่โขนเรืออาจไม่เหมาะสม จึงยกเลิกเสีย แล้วจัดทำธงที่มีภาพหลวงพ่อเพชรเป็นรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศแทน ต่อมา ได้ทำธงแบบนี้ให้เป็นอนุสรณ์แก่เรือที่เข้าร่วมแข่งขันทุกลำ

           การแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร ณ วัดท่าหลวง ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย ลำดับคือ เพิ่มวันแข่งขันจากหนึ่งวันมาเป็ นสองวัน เพราะเรือยาวประเภทต่าง ๆ ที่เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มขึ้นทุกปี และเพื่อความเป็นธรรมแก่เรือที่เข้าร่วมแข่งขัน ได้จัดเพิ่มเรือยาวขนาดกลางขึ้นมาอีกขนาดหนึ่ง รวมเป็ น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ฝี พายไม่เกิน 30 คน ขนาดกลางฝี พาย ไม่เกิน 40 คน ขนาดใหญ่ฝี พายไม่เกิน 55 คน แต่ละขนาดแยกเป็ น 2 ประเภท คือ ประเภท ก และประเภท ข ประเภท ก คือ การแข่งขันเรือยาวทั่วไป โดยเชิญจากทุกจังหวัดที่มีเรือยาวเข้าร่วมแข่งขัน ส่วนประเภท ข นั้น เราจะเชิญเฉพาะเรือยาวที่อยู่ในจังหวัดพิจิตร เท่านั้นกำหนดวันแข่งขันจากวันจันทรคติ คือวันขึ้น 6 คำ เดือน 10 มาเป็นวันสุริยคติ คือ เสาร์ อาทิตย์ ของต้นเดือนกันยายนทุกปี

          การจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร ณ วัดท่าหลวง ที่ดำเนินไป
โดยความเรียบร้อยทุกปี นั้น เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ให้การสนับสนุนและเป็นผู้ดำเนินงาน
อันประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร ทุกสมัย
อำเภอทุกอำเภอ มีอำเภอเมืองพิจิตร เป็นหลักสำคัญ ที่สำคัญยิ่ง คือ เทศบาลเมืองพิจิตร ที่สำคัญ
สุด คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพราะได้ให้การสนับสนุนงานหลายอย่าง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบความสำคัญของงานโดยทั่วไป ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ธนาคารต่าง ๆ ภายในจังหวัดพิจิตร พ่อค้าประชาชน คณะไวยาวัจกร คณะทายกอุบาสกอุบาสิกาวัดท่าหลวง และผู้สนับสนุนส่งเสริมงานอย่างดียิ่ง คือ สื่อสารมวลชน อันประกอบด้วย  วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น

 

               ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานถ้วยรางวัล เนื่องในการแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร ทั้ง 3 ขนาด คือขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก นับว่าเป็ นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ ถ้วยรางวัลที่พระองค์ พระราชทานมานั้นได้สร้างความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดพิจิตร และ คณะกรรมการผู้จัดงาน หลังจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้พระราชทานถ้วยรางวัลแก่คณะกรรมการผู้จัดงานมานั้นแล้ว ได้สร้างความสนใจแก่ประชาชนผู้มาชมงานเป็นอย่างยิ่งเพราะเรือยาวส่งเข้าแข่งขันมากขึ้นและประชาชนมาชมงานมากขึ้น รายได้จากการจัดงานก็มากขึ้นมีผลให้เงินสุทธิของงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

          เมื่อการจัดงานแข่งขันเรือยาวของจังหวัดพิจิตรเสร็จเรียบร้อย แต่ละปีจะมีรายได้สุทธิเป็นจำนวนเท่าใด ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ก็จะนำรายได้สุทธิจากงานนั้นส่วนหนึ่งถวายวัดท่าหลวง ทางวัดได้นำเงินจำนวนนี้บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดท่าหลวง คือ บูรณะกุฏิสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งจะใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลต่าง ๆ เช่น รายได้จากการจัดงานในปี 2538 – 2539 ปี เฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก ได้นำเงินขึ้นทูลเกล้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศรัย จำนวนเงินถึง 3 ล้านบาท

 

ที่มา http://www.fisheries.go.th/fpo-phichit/stop%201.pdf

ใส่ความเห็น