ถิ่นฐาน-การแต่งกาย-ภาษา-อาหาร

การตั้งถิ่นฐาน

ไทยกลาง

คำว่า ไทยกลาง หมายถึง คนไทยที่มีเชื้อสายเป็นคนไทยในจังหวัดพิจิตร ทั้งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอดีต หรืออพยพมาจากภาคกลาง ตามประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองพิจิตรกล่าวว่าคนพิจิตรดั้งเดิมสืบเชื้อสายมาจากชาวละว้า จึงตั้งภูมิลำเนาอยู่ริมสองฝั่งของแควพิจิตรเก่า จะอยู่กันในลักษณะหมู่บ้านเป็นชุมชนใหญ่เป็นหย่อมๆ เรียงรายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นับว่าเป็นคนเชื้อสายดั้งเดิมของจังหวัดพิจิตร นอกจากนี้ก็อยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ำยมบ้าง เป็นชุมชนเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ไม่มากเท่าริมแม่น้ำน่านเพราะริมแม่น้ำยมระดับน้ำสูงในฤดูน้ำหลาก ชุมชนดั้งเดิมแถบลำน้ำยม เช่น บ้านกำแพงดิน สามง่าม รายชะโด รังนก วังจิก ไผ่ท่าโพ บางราย ท้ายน้ำ โพทะเล ท่าขมิ้น ท่าเสา ส่วนชุมชนใหญ่ที่อยู่ริมคลองหรือหนองน้ำใหญ่ๆ ที่อยู่ห่างไกลแม่น้ำไปก็มีอยู่ทั่วไปซึ่งคนแม่น้ำเรียกว่า บ้านดอน เช่น แม่น้ำ ป่ามะคาบ สากเหล็ก ดงกลาง ดงป่าคำ ตำบลภูมิ บ้านดงตะขบ บ้านห้วยพุกและบ้านทะนง เป็นต้น 
การที่ประชาชนในอดีตตั้งอยู่ในสภาพดังกล่าวเพราะผู้คนในสมัยนั้นยังมีน้อย ประกอบกับสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าดง มีสัตว์ป่าชุกชุม ฉะนั้นผู้คนต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อนึ่งการที่ต้องอาศัยอยู่ริมน้ำเพราะใช้สายน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมและการเกษตร เนื่องจากในสมัยนั้นถนนหนทางยังไม่มีการอพยพของประชากรมีการอพยพเข้ามามากกว่าอพยพออก การอพยพเข้าครั้งสำคัญ มีอยู่ 2 ครั้ง คือ

  1. การอพยพรี้พลของพระยาโคตรตะบองเทวราชจากเมืองเดิม เนื่องจากหนีพวกขอม
  2. การอพยพครั้งที่สองในรัชสมัยพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือเรียกว่า “พระเจ้าเสือ”

การย้ายถิ่นของคนไทยภายในจังหวัดเอง ก็มีอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ทั้งนี้เกิดจากเหตุผลหลายประการดังนี้

  1. การเพิ่มของประชากรเมื่อประชากรเพิ่มที่ดินมีน้อย
  2. จากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
  3. เกิดจากการเจริญทางคมนาคม

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า เมืองพิจิตร นอกจากคนถิ่นดั้งเดิมแล้วยังมีคนไทยกลางตลอดจนเชื้อสายต่างๆ จากถิ่นอื่นอพยพมาอยู่มากมาย เช่น กลุ่มไทยนครปฐม

กล่าวโดยสรุปแล้วการตั้งถิ่นฐานของประชากรในจังหวัดพิจิตรมี 4 กรณีคือ

  1. การตั้งถิ่นฐานโดยอาศัยธรรมชาติ
  2. การขยายที่ดินทางการเกษตร
  3. การอพยพของคนต่างถิ่น
  4. การอพยพจากการพัฒนาประเทศด้านคมนาคม

ลักษณะของบ้านเรือนไทย

โดยทั่วไปของชาวจังหวัดพิจิตร แยกได้ดังนี้คือ

  1. แบบเรือนไทยผสมมนิลา

image006

2. แบบเรือนไทยประยุกต์ของจังหวัดพิจิตร

1157734_448642071901520_615840773_n

การแต่งกาย

ในเรื่องเครื่องแต่งกายและการแต่งกายของชาวจังหวัดพิจิตร โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกันแบ่งได้เป็น 3 วัยดังนี้คือ

clothingtb1

1. วัยผู้สูงอายุ ผู้หญิงที่มีอายุ 6๐ ปีขึ้นไปส่วนใหญ่นุ่งผ้าถุง ที่ยังคงนุ่งโจงกระเบนมีอยู่น้อยมาก ส่วนเสื้อหากอยู่ที่บ้านสวมเสื้อคอกระเช้าสีต่างๆ หากไปทำบุญหรืออกไปนอกบ้านนิยมสวมเสื้อคอกลม แขนสามส่วนหรือเสืออื่นๆ ชายสูงอายุนั้นส่วนใหญ่สวมกางเกงขาก๊วย กางเกงแพร ทั้งที่อยู่บ้านและออกไปนอกบ้าน แต่บางส่วนสวมกางเกงขายาวตามแบบสากลนิยม ส่วนเสื้อก็จะเป็นเสื้อคอกลมผ้าป่านสีต่างๆ

2.วัยกลางคน อายุประมาณ 35-6๐ ผู้หญิงทั่วไปนุ่งผ้าถุงและผ้าโสร่ง ส่วนเสื้อจะใส่ตามสมัยนิยม แต่จะมีบางกลุ่มที่นิยมนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าถุงเมื่อต้องเดินทาง ใส่รองเท้าแตะ ชายไม่นิยมสวมกางเกงขาก๊วย แต่จะสวมใส่กางเกงตามสมัยนิยม สวมเสื้อผ้าป่านคอกลมและเสื้อตามสมัยนิยมบ้าง

3.เยาวชน อายุต่ำกว่า 35 ปี เริ่มปรับเปลี่ยนการแต่งการไปจากเดิมมากโดยเฉพาะผู้หญิงจะเห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่นิยมนุ่งกางเกงเพราะสะดวกสบาย ส่วนเสื้อจะสวมเสื้อยืดหรือเสื้อตามสมัยนิยม ชายนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อยืด เสื้อเชิ้ตอื่นๆ ตามสมัยนิยม จะใช้ผ้าขาวม้าเวลาอาบน้ำเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเยาวชนอายุน้อยๆ จะใช้ผ้าขนหนูแทนผ้าขาวม้าและสวมรองเท้าตามสมัยนิยม

ภาษา

ส่วนใหญ่ทั่วไปก็จะใช้ภาษากลางในการสื่อสารกัน แต่จะมีบางคำที่ฟังไปแล้วแปร่งไปบ้าง มักจะมีคำลงท้ายว่าหนึ่งเสมอ เช่น “อันหนึ่ง” “สตางค์หนึ่ง” จะถูกตัดคำให้สั้นลงและคำสุดท้ายจะออกเสียงสูงกว่าปกติ เช่น 
ไม่มีสักอันหนึ่ง                      จะพูดว่า                  ไม่มีสักอั๋น 
ไม่มีสักสตางค์หนึ่ง                จะพูดว่า                  ไม่มีสักตั๋ง 
และนอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่คนพิจิตรในบางท้องถิ่น พูดสำเนียงแปร่งแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นไปบ้าง เช่น คำว่า 
เสือ                          ออกเสียงเป็น                          เสื่อ 
ขา                            ออกเสียงเป็น                          ข่า 
หก                           ออกเสียงเป็น                           ฮก 
และมีคำบางคำเสียงไม่แปร่ง แต่ออกเสียงต่างกันไป เช่น 
เรียก                        เป็น                         เอิ้น 
สะอาด                     เป็น                         เอี่ยม 
สว่าง                        เป็น                         แจ้ง 
และยังมีคำพูดพูดบางคำที่คนจังหวัดพิจิตร ในบางท้องที่ยังใช้ในชีวิตประจำวันสำเนียงจะไปทางสุโขทัย 
ภาษาเขียน                                              ภาษาพูด                                 คำแปล 
 แป๊ปเดียว                                                ไปปี๊ดเดียว                                  ไปไหน 
 อิจฉา                                                       เหนียน                                        อิจฉา 
 ผ้าซิ่น                                                      ผ้าถุง

อาหาร

ชาวจังหวัดพิจิตรโดยทั่วไป กินอาหารเหมือนกับชาวไทยในภาคกลาง คือ รับประทานข้าวเจ้าเป็นพื้น แม้ชนกลุ่มน้อยที่เป็นคนลาวจากจังหวัดต่างๆ ที่มาอยู่ที่พิจิตรก็นิยมรับประทานข้าวเจ้าแทนข้าวเหนียว ความสามารถในด้านโภชนาการหรือการประกอบอาหารสำหรับชีวิตประจำวันของชาวพิจิตร คล้ายคลึงกับจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคกลางทั่วไป

mt360

ที่มา http://phichit.m-culture.go.th/race/localthai.php

ใส่ความเห็น